http://www.sisaketedu1.go.th/ | หน้าแรก
       

การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
     
 

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจท้องถิ่นพออยู่พอกินแบบพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ผู้วิจัย นายปริญญา นามวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เศรษฐกิจท้องถิ่นพออยู่พอกินแบบพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ก่อนและหลังเรียนด้วยการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เศรษฐกิจท้องถิ่นพออยู่พอกินแบบพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ก่อนและหลังเรียนด้วยการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รวมทั้งเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจท้องถิ่นพออยู่พอกินแบบพอเพียง

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนบ้าน
ยางชุมใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 18 คน ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยยึดรูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ประกอบด้วยเนื้อหาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน
บ้านยางชุมใหญ่ ช่วงชั้นที่ 2 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 พออยู่พอกิน เรื่อง เศรษฐกิจท้องถิ่นพออยู่พอกินแบบพอเพียง ส่วนที่สองคือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ โดยมีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.28-0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.28-0.71 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 และส่วนที่สาม คือ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ มี 10 ข้อ เป็นแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.21-0.73 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 จัดอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

รูปแบบในการวิจัยครั้งนี้ใช้เป็นการทดลองแบบ One-Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบหาค่า t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 82.13
หลังเรียนด้วยรูปแบบการร่วมมือกันเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจท้องถิ่นพออยู่พอกินแบบพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจท้องถิ่นพออยู่พอกินแบบพอเพียง ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการร่วมมือกันเรียนรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.นักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการร่วมมือกันเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76

 
     
      By : ปริญญา  Mail to ปริญญา    (125.26.74.*)  1/04/2010 11:31 PM  
 
 

     
 
       
ชื่อ ::
  *
  รหัส ::   (เฉพาะสมาชิก)
 
อีเมล์ ::
  (สมาชิกไม่ต้องกรอก)
     
Insert Bold text Insert Italicized text Insert Underlined text Insert Centered text Insert a Hyperlink Insert Email Hyerplink Insert an Image Insert Code Formatted text Insert Quoted text
 
รายละเอียด ::
  *
  ใส่รูปแสดงอาการ ::   Confused Idea Smile Wink Coool Love It Cry Devil Kiss Yum Big Grin Smiley Razz Brow
Blue Smile Ek Frusty Eek Weird Look Bawling Angry Fire Red Face Eplus Uh Oh Crying Sinister Tongue Roll Eyes
 
รูปประกอบ ::
  ไม่เกิน 50 Kb
       
     
 
     
 
 Search Word:
Support by http://www.sisaketedu1.go.th
This programe support PHP 4, MySQL Developer by NOKESTUDIO In Thailand
NINEBOARD Vol 3.0 Copyright © 2001-2002 NINETO SOLUTION All Rights Reserved.