http://www.sisaketedu1.go.th/ | หน้าแรก
       

เผยแพร่งานวิจัยรายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
     
 

รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย โดยใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2







การวิจัย
ของ
องอาจ จูมสีมา








โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย อำเภอขุนหาญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย โดยใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของ
นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2
ผู้วิจัย นายองอาจ จูมสีมา
สถานที่วิจัย โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2554

*****บทคัดย่อ*****

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย โดยใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 เป็นการวิจัย เชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest - Posttest Design โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการทำแบบวัดความรับผิดชอบก่อนและหลังการใช้คู่มือ 3) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดความรับผิดชอบก่อนและหลังการใช้คู่มือ 4) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ก่อนและหลังการใช้คู่มือ 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 สำหรับประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชายหญิง โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย อำเภอขุนหาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ปีการศึกษา 2552 ช่วงชั้นที่ 1 จำนวน 50 คน ช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 70 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบวัดความรับผิดชอบของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.39 - 0.67 และค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.24 – 0.45 ค่าความเชื่อมั่น 0.81 และแบบวัดความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 32 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.33 - 0.70 และค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.25–0.68 ค่าความเชื่อมั่น 0.82 2) คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 3) แบบประเมินความคิดเห็นในการร่วมกิจกรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 และแบบประเมินความคิดเห็นในการร่วมกิจกรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83
ผลการวิจัย สรุปผลได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 88.00/86.33 และช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 87.52/87.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ โดยมีรายละเอียดของแต่ละระดับชั้น ดังนี้
1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 86.64/87.20
1.2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 87.36/87.86
1.3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 90.44/82.53
1.4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 89.87/89.78
1.5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 84.35/86.43
1.6 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 89.12/85.46
2. ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการทำแบบวัด ความรับผิดชอบ ก่อนและหลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนทำให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น
3. ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดความรับผิดชอบก่อนและหลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ทำให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น
4. หลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 แล้วนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.21 และ 6.14 ตามลำดับ
5. ความคิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 มีความคิดเห็นในการร่วมกิจกรรมพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 อยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ความคิดเห็น เท่ากับ 4.71 และ 4.66 ตามลำดับ



รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย โดยใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบ
ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2
*****องอาจ จูมสีมา*****


คำสำคัญ

1. ความรับผิดชอบ หมายถึง พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงออกถึงการปฏิบัติงานและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดด้วยตนเอง มีความยึดมั่นในกฎเกณฑ์ของสังคมที่ตนเองสังกัดอยู่ มีความเพียรพยายามในการปฏิบัติงานและทำสิ่งที่ยากลำบากอย่างไม่ย่อท้อและมีความตรงต่อเวลา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ แบ่งความรับผิดชอบเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การยึดมั่นในกฎเกณฑ์ ความเพียรพยายาม ความตรงต่อเวลา
2. คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1และช่วงชั้นที่ 2 หมายถึง แบบการจัด กิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับครูนำไปใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนาความรับผิดชอบและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คุณลักษณะความสามารถ ความสำเร็จในด้านความรู้ คะแนนจากผลสอบของบุคคลที่พัฒนางอกงามขึ้น อันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน ฝึกอบรม ทักษะสมรรถภาพด้านต่างๆของสมอง
4. ความคิดเห็น หมายถึง ความรู้สึกในทางที่ชอบหรือไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจ ยอมรับหรือไม่ยอมรับต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย โดยใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 วัดได้โดยการใช้แบบประเมินความคิดเห็นในการร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 อันดับ คือ (ความคิดเห็นมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด) โดยประเมินภายหลังจาก การทดลองได้จบสิ้นลง
5. นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 หมายถึง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ปีการศึกษา 2552

กรอบแนวคิดในการวิจัย
















สมมุติฐานในการวิจัย

1. คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 สามารถใช้ใน การพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ได้จริง โดยมีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 อยู่ในเกณฑ์ 80/80
2. ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการทำแบบวัดความรับผิดชอบหลังการใช้คู่มือสูงขึ้น
3. ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดความรับผิดชอบหลังการใช้คู่มือสูงขึ้น
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 หลังการใช้คู่มือสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือ
5. ความคิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

คุณธรรมจริยธรรมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมาก ในการกำหนด ความสงบสุขของสังคม สังคมใดที่คนในสังคมเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม สังคมนั้น จะมีแต่ความสงบสุข ในขณะเดียวกันหากคนในสังคมใดมีความบกพร่องด้านจิตใจ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม แม้สังคมนั้นจะมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจก็ย่อมจะหาความสงบสุขได้ยาก ดังนั้น การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคม จึงมีความจำเป็นและจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม เนื่องจากคุณธรรมและจริยธรรมเป็นเครื่องกำหนดความเจริญความเสื่อมของสังคม สังคมที่เจริญจะมีคนทรงคุณธรรมอยู่มาก คนในสังคมมีความประพฤติดี มีการปฏิบัติตนที่ไม่เป็น การเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นลักษณะของความมีจริยธรรม ทุกคนในสังคมมีความสุข สังคมนั้นผาสุกและสงบสุข จะประกอบการสิ่งใด มีแต่ความสำเร็จและก้าวหน้า ส่วนสังคมที่เสื่อม คนทรงคุณธรรมจะน้อยลง ศีลธรรมหรือจริยธรรมของประชาชนจะน้อยลง มีการประพฤติปฏิบัติ ที่เบียดเบียนตนเองและต่อผู้อื่นกันมาก สมาชิกในสังคมจะขาดความสงบสุข ความผาสุกไม่มี สังคมนั้นจะแตกสลายในที่สุด (สุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. 2546 : 31) และที่สำคัญมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ความรับผิดชอบจึงเป็นคุณลักษณะของบุคคลประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดขึ้น ในตัวบุคคล เพื่อให้ดำรงอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข การที่จะพัฒนาบุคคลให้มีบุคลิกภาพดีและมีคุณสมบัติพร้อมที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การที่จะพัฒนาบุคคลให้มีบุคลิกภาพดีและมีคุณสมบัติพร้อมที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ดีวิธีหนึ่ง คือ การช่วยให้ผู้เรียน มีความรับผิดชอบ เพราะความรับผิดชอบเป็นคุณลักษณะหนึ่งของบุคคล ซึ่งแสดงถึง ความเป็นวุฒิภาวะทางด้านอุปนิสัยและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งบุคคลแต่ละคน มีบทบาทหน้าที่จะต้องกระทำมากมาย เช่น บทบาทของพลเมืองที่ดี บทบาท ของพ่อแม่ บทบาทของครู บทบาทของนักเรียนเป็นต้น ถ้าทุกคนรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนดี ก็ย่อมทำให้สังคมสงบสุขเจริญรุ่งเรืองขึ้น (ละม้ายมาศ ศรทัตต์และจรรยา สุวรรณทัตย์. 2540 : 112)
หน่วยงานที่เกี่ยวกับนโยบายทางการศึกษาต่างให้ความสำคัญกับประเด็นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน ดังที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545 : 20) ได้ตระหนักถึงการจัดการศึกษาและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาลักษณะอันพึงประสงค์และการกำหนดสาระของหลักสูตรไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ไว้ในมาตรา 24(4) ไว้ว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ต่างๆอย่างได้***ส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชาและในมาตรา 28 วรรคสองไว้ว่า สาระของหลักสูตรทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม แสดงให้เห็นว่าทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559 ต่างก็ให้ความสำคัญกับคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์ เป็นต้น โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดสาระของหลักสูตรให้มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ไว้ โดยมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม ในขณะที่แผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559 ได้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาวิกฤตในส่วนของคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ โดยได้นำไปกำหนดเป็นแนวนโยบายในการดำเนินการปลูกฝังและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระบบวิถีชีวิตที่ดีงามและ ยังสอดคล้องกับที่กระทรวงศึกษาธิการ (2540 : 3) ได้กำหนดทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ มี 3 ด้าน คือ ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในอนาคต ได้แก่ มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะการคิดและทักษะการสื่อสาร ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงาน ได้แก่ มีทักษะการจัดการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ขยัน อดทน อดออมและประหยัด และทักษะที่จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ ควบคุมตนเองได้ มีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละ มุ่งมั่นพัฒนา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2549 : 18) ได้จัดลำดับความสำคัญของพฤติกรรมที่เห็นควรจะปลูกฝังให้เยาวชน โดยผลการจัดลำดับปรากฏว่า ได้ความรับผิดชอบเป็นค่านิยมพื้นฐานที่สำคัญและควรเร่งปลูกฝังเป็นอันดับหนึ่ง
คุณธรรมด้านความรับผิดชอบเป็นคุณธรรมที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้แก่เยาวชนไทย จากการจัดการศึกษาที่จะช่วยให้คนในสังคมเกิดความสำนึกในความรับผิดชอบ ต่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความเป็นธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น (ระพี สาคริก. 2545 : 42) เมื่อขาดความรับผิดชอบแล้ว พฤติกรรมไม่พึงประสงค์จะเกิดขึ้น คือ ไม่สนใจการเรียน ละเลย ต่อการทำกิจกรรมต่างๆในการเรียน การทำงานล่าช้า ไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำลง ซึ่งการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณลักษณะของความรับผิดชอบนั้น ต้องพัฒนาด้วยการจัดการศึกษา แต่จากสภาพปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ทำให้หลายฝ่ายลงความเห็นว่าการจัดการศึกษาของไทยมีมาตรการค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของอีกหลายๆประเทศในระดับเดียวกัน เด็กและเยาวชนไทยยังไม่ได้รับการพัฒนา เต็มตามศักยภาพ ความสามารถทางวิชาการยังไม่ได้มาตรฐานและขาดการปลูกฝังคุณธรรมที่พึงประสงค์ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545 : 38) ดังนั้น การจัดการเรียนการสอน ในยุคปัจจุบันเน้นรูปแบบของการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากอดีตผู้เรียนเคยเป็นผู้รอรับความรู้กลายมาเป็นผู้แสวงหาความรู้และพัฒนาตนเอง (กระทรวงศึกษาธิการ. 2543 : 9) ซึ่งผู้เรียน มีความรับผิดชอบด้านการเรียนย่อมมีโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าผู้เรียนที่ขาดความรับผิดชอบด้านการเรียนแน่นอน ดังนั้น การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้กับเด็ก ควรจะเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นปกติ หลีกเลี่ยงการสั่งสอน การบังคับ การสอนตรงๆ แต่ค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นพื้นฐานของความรักความเข้าใจและให้เสรีภาพและโอกาสเด็กในการคิดการใช้ปัญญา ให้เด็กได้เรียนรู้ ฝึกจากภายในจิตใจสู่ภายนอก คือ กายและวาจาและ การฝึกกาย วาจา เพื่อจิตใจที่สมบูรณ์และมุ่งสู่ชีวิตอันสงบในที่สุด

การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้จัดกระทำข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. ศึกษาหาประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 โดยการนำคะแนนจากการทำแบบฝึกหัดหลังเรียนของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 (ประสิทธิภาพกระบวนการ) กับคะแนนจากแบบวัดความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1และช่วงชั้นที่ 2 (ประสิทธิภาพผลลัพธ์)มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตรการคำนวณหาประสิทธิภาพจาก E1/E2
2. เปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทำแบบวัดความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ก่อนและหลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้สถิติ t-test for Dependent Samples
3. เปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดความรับผิดชอบก่อนและหลังการใช้คู่มือของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้สถิติ t-test for Dependent Samples
4. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ก่อน (ปีการศึกษา 2551) และหลังการใช้คู่มือ (ปีการศึกษา 2552) โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ
5. ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2
สรุปผลการวิจัย

จากการวิจัยครั้งนี้ สรุปผลได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 88.00/86.33 และช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 87.52/87.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ โดยมีรายละเอียดของแต่ละระดับชั้น ดังนี้
1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 86.64/87.20
1.2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 87.36/87.86
1.3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 90.44/82.53
1.4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 89.87/89.78
1.5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 84.35/86.43
1.6 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 89.12/85.46
2. ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการทำแบบวัด ความรับผิดชอบ ก่อนและหลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนทำให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น
3. ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดความรับผิดชอบก่อนและหลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ทำให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น
4. หลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 แล้วนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.21 และ 6.14 ตามลำดับ
5. ความคิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 มีความคิดเห็นในการร่วมกิจกรรมพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 อยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ความคิดเห็น เท่ากับ 4.71 และ 4.66 ตามลำดับ

อภิปรายผล

จากผลการวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย โดยใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ผู้วิจัยจะขออภิปรายผลจากข้อค้นพบของการวิจัยตามสมมุติฐาน มีรายละเอียด ดังนี้

สมมุติฐานที่ 1 “คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 สามารถใช้ในการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ได้จริง โดยมีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 อยู่ในเกณฑ์ 80/80”
จากการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 โดยการใช้สูตรการคำนวณหาประสิทธิภาพจาก E1/E2 พบว่า ประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 88.00/86.33 และประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 87.52/87.25 และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ได้จริง ซึ่งผลการวิจัยนี้สนับสนุนสมมุติฐานที่ 1 ที่ผู้วิจัยตั้งไว้
จากผลการวิจัยพบว่าคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1-3) และช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 86.64/87.20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 87.36/87.86 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 90.44/82.53 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 89.87/89.78 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพของคู่มือพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 84.35/86.43 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิ ภาพของคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 89.12/85.46 แสดงว่า คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้พัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ให้เพิ่มขึ้นได้จริง โดยมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 เป็นคู่มือพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ผู้สนใจสามารถใช้ได้จริงเพื่อพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 หรือนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียง ที่พบผลเช่นนี้เนื่องมาจากผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาความรับผิดชอบและสร้างคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนิยามปฏิบัติการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคู่มือพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ผู้วิจัยมีการออกแบบกิจกรรมในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของกิจกรรม และผู้วิจัยมีการระบุขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมอย่างละเอียด การประเมินผลจะมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย ทั้งจากการสังเกตเป็นรายกลุ่ม รายบุคคลและมีการให้ทำแบบฝึกหัดก่อนและหลัง การดำเนินกิจกรรม เพื่อประเมินผลในเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งในการดำเนินการจัดการกิจกรรม ผู้วิจัยดำเนินการตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้อย่างเคร่งครัด โดยในแต่ละกิจกรรมผู้วิจัยจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากที่สุด มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน นักเรียนจึงสามารถนำสิ่งที่ได้ จากการร่วมกิจกรรมไปพัฒนาตนเองและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

สมมุติฐานที่ 2 “ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการทำแบบวัดความรับผิดชอบหลังการใช้คู่มือสูงขึ้น”
จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทำแบบวัดความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ก่อนและหลังการใช้คู่มือในระดับชั้นเดียวกัน โดยใช้สถิติ t-test for Dependent Samples พบว่า ความรับผิดชอบทั้งด้านรวมและแยกเป็นรายด้านของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) และช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) ที่ได้จากการทำแบบวัด ความรับผิดชอบก่อนและหลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งผลการวิจัยนี้สนับสนุนสมมุติฐานที่ 2 ที่ผู้วิจัยตั้งไว้
จากผลการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทำแบบวัดความรับผิดชอบของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ก่อนและหลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบในแต่ละระดับชั้น แยกแต่ละด้านและรวมทุกด้าน พบว่า ความรับผิดชอบทั้งด้านรวมและแยกเป็นรายด้านของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) และช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) ที่ได้จากการทำแบบวัด ความรับผิดชอบก่อนและหลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้พัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ให้เพิ่มขึ้นได้จริง ที่พบผลเช่นนี้เนื่องจากในคู่มือผู้วิจัยจะเริ่มต้นด้วยการให้ความรู้ทางทฤษฎีและหลักการปฏิบัติก่อน จากนั้นจึงให้นักเรียนได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเองและร่วมกันอภิปรายถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม ซึ่งในแต่ละกิจกรรม ผู้วิจัยจะให้ความสนใจผู้เรียนเป็นรายบุคคลและ รายกลุ่ม พยายามดึงความสนใจให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดและตอบคำถาม เรื่องราวสมมุติ ที่ผู้วิจัยยกเป็นสถานการณ์สมมติหรือนิทานนั้น จะเป็นเรื่องราวที่ใกล้ตัวผู้เรียน เช่น การทำและส่งการบ้านให้ตรงเวลา เป็นต้น โดยในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ยังอ่านหนังสือไม่คล่อง ผู้วิจัยจะดำเนินกิจกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรัดและมีการอ่านข้อคำถามในแบบวัดและแบบฝึกหัดให้ รวมถึงช่วยอ่านและอธิบายความหมายในนิทานแต่ละเรื่อง มีการถามเน้นย้ำ เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนเข้าใจตรงกับสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการสื่อสารหรือไม่ ทำให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ ในเนื้อหาของความรับผิดชอบอย่างแท้จริงและสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ผลการวิจัย จึงสอดคล้องกับแนวคิดหลักการปลูกฝังความรับผิดชอบของ ชำเลือง วุฒิจันทร์ (ศิรินันท์ วรรัตนกิจ. 2545: 30-31 ; อ้างอิงจาก ชำเลือง วุฒิจันทร์. 2524 : 93 – 99) ที่เสนอแนะว่าการปลูกฝัง ความรับผิดชอบนั้น สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่มุ่งเน้นความรู้ทางทฤษฎีและลักษณะ ที่มุ่งเน้นการประพฤติปฏิบัติจริง หรือการจัดในรูปหลักสูตรแฝง ซึ่งการจัดทั้ง 2 ลักษณะนี้จะต้องจัดควบคู่กัน และมีลักษณะที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยในด้านความรู้ทางทฤษฎี นั้นควรให้ผู้เรียน ได้อภิปรายพร้อมยกเหตุผลประกอบ เพื่อพัฒนาความคิดให้เหตุผลเชิงจริยธรรม ใช้การสอน แบบสืบสวนสอบสวน มีวิธีคล้ายกับการสอนแบบวิทยาศาสตร์ตรงที่ต้องค้นหาเหตุผลมาประกอบ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ผู้เรียนมีการเล่นบทบาทสมมุติโดยครูกำหนดเรื่องราวให้ ใช้การเลียนแบบจากตัวแบบ อาศัยแนวคิดและหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเป็นพื้นฐาน นอกจากนี้ในด้านของการปฏิบัติจริง หรือการจัดในรูปหลักสูตรแฝง ควรจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่มีคุณค่าต่อ การปลูกฝังจริยธรรมแก่นักเรียน และสอดแทรกคุณธรรมต่างๆ ที่โรงเรียนต้องการให้เกิดแก่นักเรียนทุกครั้งที่มีโอกาส

สมมุติฐานที่ 3 “ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดความรับผิดชอบหลังการใช้คู่มือสูงขึ้น”
จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้สถิติ t-test for Dependent Samples พบว่า ความรับผิดชอบทั้งด้านรวมและแยกเป็นรายด้านของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) และของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) ที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งผลการวิจัยนี้สนับสนุนสมมุติฐานที่ 3 ที่ผู้วิจัย ตั้งไว้
จากผลการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ในแต่ละระดับชั้น แยกแต่ละด้านและรวมทุกด้าน พบว่า ความรับผิดชอบทั้งด้านรวมและแยกเป็นรายด้านของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) และของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) แบบฝึกหัดก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า กิจกรรมในคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ทำให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ที่พบผลเช่นนี้เนื่องจากผู้วิจัยมีการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรับผิดชอบ รวมถึงศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียนในช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 เพื่อนำมาออกแบบกิจกรรมและเลือกเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะกับผู้เรียนในช่วงวัยนี้ โดยผู้วิจัยมีการวางแผนจัดทำคู่มือให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนนำไปทดลองใช้จริง จึงได้เห็นภาพรวมของกิจกรรมทั้งหมดและเกลี่ยกิจกรรมให้มีความหลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน ในขั้นตอนดำเนินการสอนนั้น

สมมุติฐานที่ 4 “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 หลังการใช้คู่มือสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือ”
จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเป็นร้อยละ หลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 แล้ว นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) และนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.21 และ 6.14 ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยนี้สนับสนุนสมมุติฐานที่ 4 ที่ผู้วิจัยตั้งไว้
จากผลการเปรียบเทียบคะแนนเป็นร้อยละ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 หลังการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบ (ปีการศึกษา 2552) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบ (ปีการศึกษา 2551) โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.63 4.65 0.95 2.48 9.39 และ 7.87 ตามลำดับ ที่พบผลเช่นนี้เนื่องจากผู้วิจัยมีการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรับผิดชอบ รวมถึงศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียนในช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 เพื่อนำมาออกแบบกิจกรรมและเลือกเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะกับผู้เรียนในช่วงวัยนี้ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนเป็นวิธีการหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางเชาว์ปัญญาของบุคคล เด็กที่เชาว์ปัญญาดีส่วนใหญ่แล้วย่อมมีผลการเรียนที่ดีด้วย เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีสาเหตุจากการทดสอบบุคคลในด้านความรู้ ทักษะและศักยภาพของสมองด้านต่างๆ แต่ในบางครั้งเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนต่ำก็ไม่ได้มีเชาว์ปัญญาต่ำ การที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำนั้นอาจมีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็กเป็นอุปสรรคขัดขวางการเรียนรู้ สอดคล้องกับ รัตติกาล จันตาลี (2541 : 27-28) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ 1) คุณลักษณะของผู้เรียน ได้แก่ ความพร้อมทางด้านสมองและความพร้อมทางด้านสติปัญญา ความพร้อมทางด้านร่างกาย และความสามารถทางด้านทักษะทางร่างกาย คุณลักษณะทางจิตใจ ซึ่งได้แก่ ความสนใจ แรงจูงใจ เจตคติ และค่านิยม สุขภาพ ความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง ความเข้าใจในสถานการณ์ อายุ เพศ 2) คุณลักษณะของผู้สอน ได้แก่ สติปัญญา ความรู้ในวิชาที่สอน การพัฒนาความรู้ ทักษะร่างกาย คุณลักษณะทางจิตใจ สุขภาพ ความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง 3) พฤติกรรมระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 4) คุณลักษณะของกลุ่ม ได้แก่ โครงสร้าง เจตคติ ความสามัคคีและการเป็นผู้นำ 5) คุณลักษณะของพฤติกรรมเฉพาะตัว ได้แก่ การตอบสนอง เครื่องมือและอุปกรณ์ 6) แรงผลักดันภายนอก ได้แก่ บ้าน สิ่งแวดล้อม อิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรม สอดคล้องกับ อัมเรศ เนตาสิทธิ์ (2545 : 19-20) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ได้ขึ้นกับองค์ประกอบทางสติปัญญาอย่างเดียว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง คือ 1) ความรับผิดชอบ 2) ความวิตกกังวล เกิดความขัดแย้งระหว่างความต้องการทางสัญชาตญาณกับความต้องการทางสังคม 3) อัตมโนทัศน์ 4) สภาพของระบบโรงเรียน การอยู่ร่วมกันกับเพื่อนในโรงเรียน ความต้องการรวมกลุ่มการยอมรับ 5) นิสัยและทัศนคติทางการเรียน 6) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 7) กระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้สอนโปรแกรมการเรียนการสอน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน โดยเฉพาะตัวผู้เรียนเองเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อผลการเรียน

สมมุติฐานที่ 5 “ความคิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก”
จากการวิเคราะห์แบบประเมินคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ในแต่
ละระดับชั้น โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-3) และนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) มีความคิดเห็นต่อกิจกรรมพัฒนา ความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.71 และ 4.66 ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยนี้สนับสนุนสมมุติฐานที่ 5 ที่ผู้วิจัยตั้งไว้
จากผลวิเคราะห์แบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาความรับ ผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ในแต่ละระดับชั้น โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้น เห็นด้วยกับกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ในระดับ มากที่สุด ที่พบผลเช่นนี้เนื่องมาจากผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรับผิดชอบและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนแต่ละระดับชั้น เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากที่สุด นอกจากนี้ ผู้วิจัยจะเน้น การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนแบบเป็นมิตร อบอุ่นและเป็นกันเอง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ได้อย่างเต็มศักยภาพ กล้าที่จะซักถามและมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น โดยไม่เกรงกลัวครูผู้สอนใช้นิทานและกิจกรรมที่สนุกสนานเป็นสื่อกลาง ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกสนุกและสนใจในการทำกิจกรรม สอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุจิตรา ปัทมธนิสร์ (2538 : บทคัดย่อ) ได้สร้างและพัฒนาชุดการสอนการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม เรื่อง ความรับผิดชอบ และการมีวินัย วิชาจริยศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการสอนวิชาจริยศึกษา เรื่อง ความรับผิดชอบและการมีวินัย และได้นำชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมปริญญานุสรณ์ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า นักเรียนมีความพอใจที่เรียนโดยการสอนด้วยชุดการสอนการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม เรื่องความรับ ผิดชอบและการมีวินัย วิชาจริยศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างและพัฒนาขึ้น

ประกาศคุณูปการ

การวิจัยฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างดียิ่งจากคุณจารึก ศรีเลิศ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ อรพิน จูมสีมา ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ คุณพรทิพย์ เกียรติวีรวัฒนา คุณธัญทิพย์ เรืองวุฒิโรจน์ และคุณดาวเรือง ศรีระษา ที่กรุณาให้ความรู้แนวคิด คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องเป็นอย่างดี อีกทั้งได้กรุณาให้คำแนะนำในการสร้างเครื่องมือ ตลอดจนเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จนได้เครื่องมือที่มีคุณภาพ ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ เป็นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณคณะครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านกันทรอมน้อยทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
ขอขอบพระคุณ คุณกมลรัตน์ คุณเอื้ออังกูร คุณแม่สิงห์ จูมสีมา ที่ให้ความรัก ความห่วงใยและเป็นกำลังใจในการวิจัยด้วยดีตลอดมา
คุณค่าและประโยชน์จากการวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาบูรพาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน ที่มีส่วนในการอบรมสั่งสอนให้ผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การดำเนินงานและการดำเนินชีวิต




บรรณานุกรม

กรรณิการ์ พงศ์เลิศวุฒิ. ผลของการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบความสร้างสรรค์ต่อ
ความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย).
กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ . ถ่ายเอกสาร, 2546.
กระทรวงศึกษาธิการ. ศึกษาการศักยภาพของเด็กไทย ระยะที่ 1. กรุงเทพ ฯ : กรมกองวิจัย
ทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540.
กระทรวงศึกษาธิการ. วิจัยบรรณนิทัศน์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2545.
เครือวรรณ โดดเดี่ยว. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา
เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างวิธีสอนแบบ LT กับวิธีสอน
แบบ POLYA. วิทยานิพนธ์ คม. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, 2549.
จิราภรณ์ ศิริทวี. เอกสารประกอบคำบรรยายเรื่อง เทคนิคการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียน
สร้างองค์ความรู้. กรุงเทพฯ : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน, 2542.
จินตนา ม่วงศรี. การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต.
วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
นพดล เจนอักษร. แก่นวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์, 2544.
บัญชา สุวรรณานนท์. ศาสตร์แห่งศัพท์ภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : บริษัทรีดเดอร์ ไดเจสท์
(ประเทศไทย) จำกัด, 2541.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ประมวลสาระชุดวิชาทักษะและประสบการณ์พื้นฐาน
สำหรับเด็กประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : บัณฑิตศึกษา สาขาศึกษาศาสตร์, 2545.
มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547.
รัชนิศ นิสสัยเจริญ. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความมั่นคงในการเรียนรู้.
วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2543.
รุ่งทิวา ควรชม. การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2546.

วัชรา เล่าเรียนดี. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, 2548.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ :
เลิฟแอนด์ลิฟเพรส, 2542.
สมเดช บุญประจักษ์. การศึกษาการพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มมุ่งผลสัมฤทธิ์ (STAD).
วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.
สายสุดา ปะวะขัง. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์
และความคิดเห็นแบบสืบสวน-สอบสวน ระหว่างการสอนที่ใช้กิจกรรมแบบเพื่อน
ช่วยเพื่อนกับการสอนที่ใช้กิจกรรมแบบพึ่งตนเอง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2546.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2559.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อรรถพลการพิมพ์, 2545.
สุชิน เพ็ชรรักษ์. รายงานการวิจัย เรื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การค้าคุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
สุนทร โคตรบรรเทา. เทคนิคการสอนครบวงจร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เอกชนเอน, 2545.
สุรพล พยอมแย้ม. จิตวิทยาพื้นฐานสำหรับการศึกษา. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544.
อารยา กล้าหาญ. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
หน่วยการเมืองการปกครอง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.
Bell, B.F. Children’s Science, Constructivism and Learning Science. New York : Gelong Deakin
University Press. 1997.
Braathen, Sandra Jean Homer. A Comparison of Business Communication Students Writing
Achievment Constructivist or Behaviorist Methods of Instruction are used University of
Minnesota. Dissertation Abstracts International. New York : Prentice-Hall, Inc., 2000.
Johnson W., and Johnson, . Learn, Together and Alone Cooperative, Cooperative, Cooperative
Competitive, and Individual Learning. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey :
Prentice-Hall, Inc., 1987.
Kerr, J.A.A. Qualitative Description Analysis and Evaluation of An Eighth Grade Writing
Workshop Social Constructivism. Dissertation Abstract International. New York :
Prentice-Hall, Inc., 1997.






































ตัวอย่างคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สาระ กิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1
เรื่อง ความรับผิดชอบ คืออะไร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เวลา 1 ชั่วโมง


สาระการเรียนรู้
ภาพรวมของกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงความหมายของความรับผิดชอบและองค์ประกอบของ ความรับผิดชอบในบริบทของกิจกรรมที่จะเข้าร่วม
2. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงภาพรวมของกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบ ในด้านจำนวนครั้งที่ต้องเข้าร่วมกิจกรรม วัน/เวลาที่เข้าร่วมกิจกรรม บทบาทของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมและประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม
3. เพื่อให้นักเรียนทำแบบวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบก่อนเข้าร่วมกิจกรรม

สาระสำคัญ
ความรับผิดชอบ ถือเป็นคุณลักษณะทางจริยธรรมรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ที่มีความสำคัญ ในการที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ดังนั้นการปลูกฝังและพัฒนาความรับผิดชอบของมนุษย์ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กนักเรียนในช่วงชั้นที่ 1 ที่มีอายุอยู่ระหว่าง 6-9 ปี ซึ่งถือ เป็นช่วงวัยพัฒนาการที่มีความสำคัญในการที่จะพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมความรับผิดชอบของเด็ก โดยในด้านความรับผิดชอบที่ควรพัฒนาให้แก่เด็กในวัยนี้ เพื่อให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ได้แก่ การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การยึดมั่นในกฎเกณฑ์ ความเพียรพยายามและความตรงต่อเวลา

เทคนิคที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม
การบรรยาย / การอภิปรายกลุ่ม

วิธีการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูแนะนำตนเองและกล่าวทักทายนักเรียน ไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบ เช่น ถามถึง การเรียนและบรรยากาศในวันนั้น (โดยใช้เวลาประมาณ 2 นาที)
2. จากนั้นครูกล่าวต้อนรับนักเรียนเข้าสู่โปรแกรมการพัฒนาความรับผิดชอบ แจ้งกำหนดการและข้อมูลต่างๆของกิจกรรม ใน 4 หัวข้อ (โดยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 10 นาที) ได้แก่
2.1 จำนวนครั้งที่ต้องเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้นจำนวน 6 ครั้ง
2.2 วัน/เวลาที่เข้าร่วมกิจกรรม (วันละ 1 กิจกรรมรวมทั้งสิ้นจำนวน 6 วัน เช่น อาจจัดกิจกรรมในคาบแนะแนว สัปดาห์ละ 1 คาบหรือเป็นช่วงเวลา 1 คาบหลังจากเวลาเลิกเรียนโดยกำหนด เวลาที่เหมาะสมสำหรับทั้งครูและนักเรียน)
2.3 บทบาทของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม โดยนักเรียนต้องให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น การตอบคำถาม ซึ่งนักเรียนต้องยกมือขออนุญาตก่อนตอบหรือการจับกลุ่มอภิปราย นักเรียนต้องร่วมแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนในกลุ่มทุกครั้ง โดยนักเรียนสามารถยกมือถามครูเมื่อไม่เข้าใจในหัวข้อที่ครูกำลังนำเสนอ เป็นต้น
2.4 ประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ นักเรียนจะเข้าใจในเรื่องความรับผิดชอบมากขึ้น รวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน เช่น การทำการบ้านด้วยตนเองโดยไม่ต้องให้คุณพ่อคุณแม่เคี่ยวเข็ญ มาโรงเรียนทันเวลา ทุกวัน เป็นต้น
3. ครูชักชวนนักเรียนมาทำ “แบบฝึกหัดกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เรื่อง ความรับผิดชอบ คืออะไร” เพื่อที่จะได้รู้ว่านักเรียนแต่ละคนรู้จัก “ความรับผิดชอบ” มากน้อยแค่ไหน (โดยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 10 นาที)
3.1 ครูนำ “แบบฝึกหัดกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เรื่อง ความรับผิดชอบ คืออะไร” ที่เตรียมมาแจกให้นักเรียนทุกคน คนละ 1 แผ่น โดยครูควรเตรียมมาให้พอดีกับจำนวนนักเรียน
3.2 ครูอธิบายถึงวิธีการทำแบบฝึกหัด โดยให้นักเรียนเขียนชื่อ-สกุล ของตนเองให้ชัดเจนลงในหัวแบบฝึกหัด ส่วนการทำแบบฝึกหัดมีลักษณะเป็นแบบปรนัย จำนวน 5 ข้อ แต่ละข้อประกอบด้วย 3 ตัวเลือก ซึ่งมีคำตอบที่ถูกเพียงข้อเดียว ให้นักเรียนเลือกตอบโดยกากบาทเพียง 1 ข้อลงในกระดาษแบบฝึกหัด และเปิดโอกาสให้นักเรียนที่สงสัยยกมือถาม
3.3 ครูให้เวลานักเรียนทำแบบฝึกหัดในกรณีของเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ที่อาจจะอ่านโจทย์ไม่คล่อง หรืออ่านไม่ออก ให้ครูอ่านโจทย์และตัวเลือกให้นักเรียนฟังอย่างชัดเจน
3.4 เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกหัดครบทุกคนแล้ว ให้ครูเก็บแบบฝึกหัดนักเรียนให้ครบทุกคน
ขั้นดำเนินการ
1. ครูเกริ่นให้นักเรียนทราบว่าในขั้นตอนนี้จะนำนักเรียนมาทำความรู้จักกับความรับผิดชอบอย่างจริงจัง จากนั้นครูนำเสนอชาร์ตเรื่อง “ ความรับผิดชอบ” ที่เตรียมมา โดยติดไว้บนกระดาน และถามนักเรียนว่า “นักเรียนเข้าใจหรือไม่ว่า คำคำนี้ มีความหมายว่าอย่างไร” โดยเลือกสุ่มถามนักเรียนเป็นรายบุคคล ประมาณ 4-5 คน ครูเขียนคำตอบที่ได้รับ บนกระดาน จากนั้นครูอธิบายความหมายที่แท้จริงของ “ความรับผิดชอบ” ในบริบทของการจัดกิจกรรมครั้งนี้เพิ่มเติมว่ามีอะไรบ้าง ตามใบงาน “ความรับผิดชอบ คืออะไร” (โดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที)
2. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยตามหัวข้อ “ความรับผิดชอบ คืออะไร” ที่ได้อธิบายไปเมื่อสักครู่ (โดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที)
3. ครูชักชวนนักเรียนมาทำ “แบบวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1” เพื่อที่จะได้รู้ว่านักเรียนแต่ละคนมีความรับผิดชอบมากน้อยแค่ไหนในการดำเนินชีวิตประจำวัน (โดยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 15 นาที)
3.1 ครูนำ “แบบวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1” ที่เตรียม มาแจกให้นักเรียนทุกคน คนละ 1 แผ่น โดยครูควรเตรียมมาให้พอดีกับจำนวนนักเรียน
3.2 ครูอธิบายถึงวิธีการทำแบบวัด โดยให้นักเรียนเขียนชื่อ-สกุล ของตนเองให้ชัดเจนลงในหัวแบบฝึกหัด ส่วนการทำแบบวัดมีลักษณะเป็นแบบปรนัย มีจำนวนทั้งสิ้น 40 ข้อ โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ด้านละ 10 ข้อ มีลักษณะแบบสอบถามเป็นคำถามแบบประเมินค่า มีคำตอบ เป็นทางเลือก 5 ระดับ ซึ่งไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด แต่ให้นักเรียนเลือกในช่องที่สอดคล้องกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของนักเรียน โดยกากบาทเพียง 1 ช่องเดียวในแบบวัด และเปิดโอกาส ให้นักเรียนที่สงสัยยกมือถาม
3.3 ครูให้เวลานักเรียนทำแบบวัด ในกรณีของเด็กประถมศึกษาปีที่ 1ที่อาจจะอ่านโจทย์ไม่คล่อง หรืออ่านไม่ออก ให้ครูอ่านโจทย์และตัวเลือกให้นักเรียนฟังอย่างชัดเจน
3.4 เมื่อนักเรียนทำแบบวัดครบทุกคนแล้ว ให้ครูเก็บแบบวัดนักเรียนให้ครบทุกคน
ขั้นสรุป
1. ครูสรุปให้นักเรียนว่า “ถ้านักเรียนอยากเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบ เราจะได้มา เจอกันอีก 5 ครั้ง โดยที่ครูจะมี เกมและนิทานสนุกๆ มาให้นักเรียนได้เล่น และฟังกัน ซึ่งเกม และนิทานนี้ จะทำให้นักเรียนได้รู้ว่า ความผิดชอบเป็นอย่างไรและทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้ที่มี ความรับผิดชอบ” (โดยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 5 นาที)
2. ครูนัดแนะนักเรียนอีกครั้งถึงวันเวลาที่จะมาร่วมกิจกรรมในครั้งต่อไป
ขั้นประเมินผล
1. ครูชักชวนนักเรียนมาทำ “แบบฝึกหัดกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 เรื่อง ความรับผิดชอบ คืออะไร” เพื่อสรุปความเข้าใจของนักเรียนจากการทำกิจกรรม ในวันนี้ (โดยมีลักษณะและวิธีการดำเนินการเหมือนในขั้นนำ ข้อ 3 และใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 5 นาที)
2. ครูสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม พฤติกรรมความตั้งใจและใส่ใจในการเข้าร่วมกิจกรรม และการสนทนาตอบคำถามของนักเรียน (ครูต้องทำตลอดการจัดกิจกรรม โดยอาจมีใบรายชื่อของนักเรียนทั้งห้อง และบันทึกพฤติกรรมนักเรียนบางคนที่มีลักษณะพิเศษไว้ เพื่อเป็นการเตือนความจำและจะได้ให้ความสนใจและดูแลเป็นพิเศษในการจัดกิจกรรมครั้งหน้า เช่น นักเรียนที่ไม่ตอบคำถามเลย หรือนักเรียนที่ชอบป่วนการจัดกิจกรรม เป็นต้น)
3. หลังจากจบกิจกรรมครูนำแบบฝึกหัดก่อนและหลังกิจกรรมเรื่อง “ความรับผิดชอบ คืออะไร”ไปตรวจให้คะแนนและนำแบบวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบก่อนเข้าร่วมกิจกรรมไปรวมคะแนน โดยทำเป็นตารางคะแนนเก็บไว้ตามรายชื่อนักเรียน เพื่อสะดวกต่อการวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อจบกิจกรรม

สื่อการเรียนรู้หรืออุปกรณ์ที่ใช้
1. ใบงานเรื่อง “ความรับผิดชอบ คืออะไร”
2. ชาร์ตเรื่องความรับผิดชอบ (โดยพิมพ์ด้วยอักษรตัวค่อนข้างใหญ่ สำหรับติดกระดาน)
3. แบบฝึกหัดก่อนและหลังกิจกรรมเรื่อง “ความรับผิดชอบ คืออะไร”
4. แบบวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
5. เทปกาว

การประเมินผล
1. ผลจากที่นักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการทำกิจกรรม
2. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม พฤติกรรมความตั้งใจและใส่ใจในการเข้าร่วมกิจกรรม การมีส่วนร่วมและการสนทนาโต้ตอบคำถามของนักเรียน

ข้อเสนอแนะจากการดำเนินกิจกรรม
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
บันทึกผลหลังการสอน
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.........................................ผู้สอน
(นางจำปา สมรัตน์)

































































































ตัวอย่างคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สาระ กิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2
เรื่อง แมวกตัญญู ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เวลา 1 ชั่วโมง


สาระการเรียนรู้
การทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักความรับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วง
2. พัฒนาพฤติกรรมการทำงานให้สำเร็จลุล่วง

สาระสำคัญ
ความรับผิดชอบมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทั้งในด้านต่อตนเองและสังคมดังนั้นในการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ควรมีการจัดกิจกรรมพัฒนา ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับช่วงชั้นและวัยของผู้เรียน เพื่อจะพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ให้อยู่คู่กับตัวผู้เรียนตลอดไปและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

เทคนิคที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม
กรณีตัวอย่าง/การอภิปรายกลุ่ม/การกล่าวคำชมเชย

วิธีการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูทักทายและพูดคุยกับนักเรียน ถึงการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
แล้วถามว่า “ รู้ไหมว่าทำไมเราจึงต้องปฏิบัติทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ มีใครตอบได้บ้างไหมคะ ยกมือขึ้นเลยค่ะ” (เพื่อเป็นการเชื่อมโยงนักเรียนให้เข้าสู่กิจกรรมที่จะทำในวันนี้และกล่าวคำชมเชยเมื่อมีนักเรียนเล่าเหตุการณ์นั้นๆให้ฟัง)
2. เมื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบแล้ว ก็นำเด็กนักเรียนเข้าสู่กิจกรรมเรื่อง แมวกตัญญู โดยพูดว่า “ นักเรียนทุกๆคนคงได้ฟังคำตอบที่เพื่อนๆของเราตอบให้ไปแล้วนะคะและวันนี้ครูก็มีกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ มาให้ลูกๆได้ศึกษากันนะคะและกิจกรรมที่เราจะทำในวันนี้ก็คือ กิจกรรมกรณีตัวอย่าง เรื่อง แมวกตัญญู ถ้าใครอยากรู้ว่ากรณีตัวอย่าง เรื่อง แมวกตัญญู จะสนุกมากน้อยแค่ไหน ครูก็ขอให้นักเรียนทุกๆคนเริ่มทำแบบฝึกหัดก่อนกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ให้เสร็จก่อนนะคะ เพื่อที่เราจะได้ไปอ่านกรณีตัวอย่าง เรื่อง แมวกตัญญู กันต่อไปค่ะ”
3. แจกแบบฝึกหัดก่อนกิจกรรมเรื่อง แมวกตัญญู ให้นักเรียนทำ
ขั้นดำเนินการ
1. อธิบายให้นักเรียนเข้าใจถึงกติกาและข้อปฏิบัติในการทำกิจกรรม โดยพูดว่า
“ในการทำกิจกรมครั้งนี้นะคะ ขอให้นักเรียน แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กันและครูจะแจกใบความรู้กับใบงานเรื่อง แมวกตัญญู เมื่อนักเรียนอ่าน กรณีตัวอย่างเรื่อง แมวกตัญญู จบ ก็ให้นักเรียนตอบคำถามในใบงาน เรื่อง แมวกตัญญู และช่วยกันสรุปผลดีของความรับผิดชอบและผลเสียที่ จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับการทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่สำเร็จ ลงในใบงานด้วยนะคะ แล้วให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาอภิปรายหน้าชั้นเรียนด้วยนะคะ”
2. เปิดวีดีทัศน์ กรณีตัวอย่างเรื่อง แมวกตัญญู ให้นักเรียนดู โดยมีเนื้อหาดังนี้ “ มีบ้านหลังหนึ่งสีขาวสองชั้น เป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวหนึ่ง มีพ่อแม่และลูกเล็ก ๆ อีก 2 คน บ้านหลังนี้เลี้ยงแมวไว้ 3 ตัว ชื่อเจ้าแต้ม เจ้าตาล และเจ้าสีหม่น แมวทั้ง 3 ตัว เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เล็ก จึงรักใคร่สนิทสนมกันมากบ้านหลังนี้มีหนูชุกชุม สัตว์ทั้งสามจึงแบ่งหน้าที่กันทำงาน เจ้าแต้มมีหน้าที่จับหนูชั้นบนของบ้าน เจ้าตาลมีหน้าที่จับหนูชั้นล่าง ส่วนเจ้าสีหม่นมีหน้าที่จับหนูในครัว ทั้งสามได้ทำหน้าที่ตามที่แบ่งกันไว้เรื่อยมา จึงทำให้บ้านหลังนั้นอยู่กันอย่างสงบสุข โดยไม่มีหนูมารบกวน เจ้าของบ้านจึงรักใคร่สัตว์ทั้งสามมากและให้อาหารดีๆแก่สัตว์ทั้งสามทุกวัน
แต่แล้ววันหนึ่ง เจ้าแต้มเกิดความเบื่อหน่ายต่อหน้าที่ของตนขึ้นมาเป็นอย่างมาก มันจึงบ่นขึ้นมาว่า “เฮ้อ เราอยู่บ้านหลังนี้มานาน จับหนูมานาน มันก็น่าจะคุ้มกับข้าวปลาที่เขาเลี้ยงดูแล้ว ฉันอยากจะเลิกหน้าที่นี้เหลือเกิน” แล้วมันก็ไปชวนเจ้าตาลและเจ้าสีหม่นว่า เราเลิกทำหน้าที่นี้กันเถอะ เจ้าตาลแย้งว่าไม่ได้หรอก เราเป็นแมวที่มีหน้าที่จับหนู เจ้าสีหม่นบอกว่าเราหยุดจับหนูไม่ได้หรอก ถ้าหยุดจับหนูเมื่อไร หนูคงจะวิ่งเพ่นพ่านเต็มบ้านและเจ้าของบ้านผู้มีพระคุณของเราจะเดือดร้อน เจ้าแต้มโกรธมากและตั้งแต่นั้นมาเจ้าแต้มก็ไม่ยอมจับหนูอีกเลย ทำให้ชั้นบนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าแต้มมีหนูชุกชุมมากจนเป็นที่ผิดสังเกตทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกไม่พอใจเจ้าแต้ม...”
3. เมื่อนักเรียนชมวีดีทัศน์ กรณีตัวอย่างเรื่อง แมวกตัญญู จบ ให้นักเรียนตอบคำถามใน
ใบงานเรื่อง แมวกตัญญู และช่วยกันสรุปผลดีของความรับผิดชอบและผลเสียที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับ การทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่สำเร็จ โดยมีคำถามดังต่อไปนี้
- แมวมีหน้าที่อะไร
- สัตว์ทั้งสามแบ่งหน้าที่กันอย่างไร
- การแบ่งหน้าที่กันทำและทุกตัวทำตามหน้าที่มีผลอย่างไร
- ใครไม่ทำตามหน้าที่ เพราะอะไร
- ผู้ที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายขาดคุณธรรมข้อใด
- นักเรียนควรเอาอย่างใคร
- ทำไมเจ้าตาลกับเจ้าสีหม่นจึงไม่เชื่อเจ้าแต้ม
- เจ้าแต้มรู้สึกอย่างไร เมื่อเจ้าตาลกับเจ้าสีหม่นไม่เชื่อตน
- ถ้าเพื่อของนำเรียนมีนิสัยอย่างเจ้าแต้ม นักเรียนควรเอาอย่างหรือไม่
- นักเรียนคิดว่าเจ้าของบ้านควรจะจัดการกับเจ้าแต้มโดยวิธีใด
- ถ้าครูหรือพ่อแม่มอบหมายให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วนักเรียนไม่ทำแสดงว่า
นักเรียนขาดคุณธรรมข้อใดและเมื่อแต่ละกลุ่มตอบคำถามในใบงานเรื่อง แมวกตัญญู เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
1. ร่วมกันสรุปถึงความรู้ที่ได้ทำกิจกรรมในวันนี้ โดยพูดว่า
1.1 “ในการทำกิจกรรมครั้งนี้เป็นการพัฒนาความรับผิดชอบในด้านอะไรคะ”
(เปิดโอกาสให้นักเรียนตอบและกล่าวคำชมเชยเมื่อนักเรียนตอบคำถาม)
1.2 “นักเรียนได้ความรู้หรือข้อคิดอะไรบ้างคะเกี่ยวกับการทำกิจกรรมในครั้งนี้” (เปิดโอกาสให้นักเรียนตอบและกล่าวคำชมเชยเมื่อนักเรียนตอบคำถาม)
1.3 “เราจะนำความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันได้อย่างไรบ้างคะ” (เปิดโอกาสให้นักเรียนตอบและกล่าวคำชมเชยเมื่อนักเรียนตอบคำถาม)
2. เมื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบคำถามเรียบร้อยแล้ว ก็สรุปความรู้ที่นักเรียนได้รับจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ว่า
“กิจกรรมที่ทุกๆคนได้ทำในวันนี้ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบใน ด้านการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จและพี่ก็อยากให้นักเรียนทุกๆนำข้อคิดที่ได้จากกรณีตัวอย่าง เรื่องแมวกตัญญู นำไปปฏิบัติใช้ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน นำไปใช้ ที่บ้านก็ยกตัวอย่าง เช่น ทำงานที่ผู้ปกครองมอบหมายให้สำเร็จตามที่ผู้ปกครองมอบหมายให้หรือ ที่โรงเรียนเมื่อมีการทำงานกลุ่ม ก็ให้นักเรียนทำงานที่กลุ่มมอบหมายให้สำเร็จด้วยตนเอง โดยไม่เกียจคร้าน เหมือนกับเจ้าแต้มที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง ก็เหมือนกับการทำกิจกรรมในครั้งนี้ที่นักเรียนทุกๆคนทำกิจกรรมสำเร็จลุล่วงมาได้ก็เพราะว่า นักเรียนทุกๆคนรู้จักหน้าที่ของตนและมี ความรับผิดชอบในการทำงานที่นักเรียนได้รับมอบหมายและทำงานด้วยตนเองและครูก็ขอให้ทุกๆคนนำความรู้ที่ได้ในการทำกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเองและผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ และก่อนจะเลิกกิจกรรมในวันนี้ครูก็ให้นักเรียนทุกๆคน ทำแบบฝึกหัดหลังกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ”
3. แจกแบบฝึกหัดหลังกิจกรรมเรื่อง แมวกตัญญู ให้นักเรียนทำ เป็นการจบการปฏิบัติกิจกรรมกรณีตัวอย่างเรื่อง แมวกตัญญู ในวันนี้

สื่อการเรียนรู้หรืออุปกรณ์ที่ใช้
1. ใบความรู้เรื่อง แมวกตัญญู (กระทรวงศึกษาธิการ : 2531)
2. ใบงานเรื่อง แมวกตัญญู (กระทรวงศึกษาธิการ : 2531)
3. แบบฝึกหัดก่อนและหลังกิจกรรมเรื่อง แมวกตัญญู

การประเมินผล
การสังเกต
- การประเมินพฤติกรรม ตั้งใจและใส่ใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
- การประเมินพฤติกรรม การสนทนาตอบคำถามของนักเรียน
การตรวจผลงานนักเรียน
- การตรวจใบงาน
- แบบฝึกหัดก่อนและหลังกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2

ข้อเสนอแนะจากการดำเนินกิจกรรม
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................

บันทึกผลหลังการสอน
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.........................................ผู้สอน
(นางรัตนา พิมพร)























































































































































































ประวัติย่อของผู้วิจัย

ชื่อ-ชื่อสกุล นายองอาจ จูมสีมา
วันเดือนปีเกิด 1 กุมภาพันธ์ 2512
สถานที่เกิด อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สถานที่อยู่ปัจจุบัน 54 หมู่ 14 ตำบลโนนค้อ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ 33250
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
ประวัติการศึกษา

พ.ศ.2534 ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา เกษตรศาสตร์ (วท.บ.)
วิทยาลัยครูอุบลราชธานี
พ.ศ.2540 ปริญญาตรีศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขา คณิตศาสตร์ (ศษ.บ.)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ.2547 การศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน (กศ.ม.)
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พ.ศ.2551 ประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา (ป.บัณฑิต)
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

ความภาคภูมิใจ
1. โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย รับมอบเกียรติบัตรจาก นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์ระดับเหรียญเงิน การแข่งขัน Cross word กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับชั้น ป.1-3 งานศิลป หัตถกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 60 ปี 2553 จังหวัดอุดรธานี ESAAN EXCELLENCE 60th FAIR 2010, UDON THANI
2. เข้าฝึกอบรมพัฒนาคุณภาพด้วยระบบ e-Training และผ่านเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์การอบรม หลักสูตรการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา รับวุฒิบัตรจากนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
3. คณะกรรมการตัดสินทำอาหารคาวหวาน(อาหารจานเดียว) และอาหารหวานเพื่อสุขภาพ ช่วงชั้นที่ 3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2551(ESSAAN EXCELLENCE 2008) คำสั่งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
4. เป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจสอบภายใน
5. เป็นวิทยากรสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด
6. ได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม ประเภทผู้บริหารสถานศึกษา ปีพุทธศักราช 2553 และ 2554
7. โรงเรียนสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด
8. โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบ 2 (พ.ศ. 2549-2553) ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
9. โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ผ่านเกณฑ์ประเมินรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับ ทอง ตามเกณฑ์การประเมินของกรมอนามัย
10. โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย รับรางวัลเหรียญทองแดง การประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ ระดับประถมศึกษา
11. โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ชนะเลิศ ประเภทฟุตบอลชาย อายุไม่เกิน 12 ปี
12. โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ชนะเลิศ ประเภทฟุตบอลอนุบาลชาย
13. โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ผ่านการประเมินระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับดีเด่น ของโรงเรียนขนาดกลาง
14. โรงเรียนบ้านกันทรอมน้อย ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทห้องสมุด










 
     
      By : องอาจ จูมสีมา  Mail to องอาจ จูมสีมา    (61.19.66.*)  8/03/2011 10:57 AM  
 
 

     
 
       
ชื่อ ::
  *
  รหัส ::   (เฉพาะสมาชิก)
 
อีเมล์ ::
  (สมาชิกไม่ต้องกรอก)
     
Insert Bold text Insert Italicized text Insert Underlined text Insert Centered text Insert a Hyperlink Insert Email Hyerplink Insert an Image Insert Code Formatted text Insert Quoted text
 
รายละเอียด ::
  *
  ใส่รูปแสดงอาการ ::   Confused Idea Smile Wink Coool Love It Cry Devil Kiss Yum Big Grin Smiley Razz Brow
Blue Smile Ek Frusty Eek Weird Look Bawling Angry Fire Red Face Eplus Uh Oh Crying Sinister Tongue Roll Eyes
 
รูปประกอบ ::
  ไม่เกิน 50 Kb
       
     
 
     
 
 Search Word:
Support by http://www.sisaketedu1.go.th
This programe support PHP 4, MySQL Developer by NOKESTUDIO In Thailand
NINEBOARD Vol 3.0 Copyright © 2001-2002 NINETO SOLUTION All Rights Reserved.