http://www.sisaketedu1.go.th/ | หน้าแรก
       

เดชกัมพูชา
     
 

สรุปถาม-ตอบกรณีปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา

1.พันธมิตรฯ นักวิชาการ และภาคประชาชนคัดค้านเรื่องอะไร?
ตอบ: คัดค้านไม่ให้ประเทศไทยเสียดินแดนจาก
1.ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทั้งปวงที่ไทยทำกับกัมพูชา
2.การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
3.การรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยโดยกัมพูชา

สรุปถาม-ตอบเกี่ยวกับข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน กับเขาพระวิหาร

2.แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทำโดยใคร และเมื่อไหร่?
ตอบ: ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) โดยสยามไม่เคยเซ็นยอมรับเห็นชอบด้วย และไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส และไม่เป็นไปตามที่ได้มีการเดินสำรวจและตกลงปักปันกันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

3.ถ้าไทยไม่ยึดแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน แล้วฝ่ายไทยยึดหลักอะไรเรื่องเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา ?
ตอบ:1.สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส (ค.ศ.1904 และ ค.ศ.1907) และยึดสันปันน้ำเป็นเขตแดน
2.ผลงานการสำรวจและปักปันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ที่ยึดสันปันน้ำและหน้าผาเป็นเส้นเขตแดน

4.แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนทำให้ไทยเสียดินแดนเพราะอะไร?
ตอบ: มีความผิดพลาดมาก เขียนผิดธรรมชาติ และรุกล้ำดินแดนไทยบริเวณเขาพระวิหาร 2,875 ไร่ สุ่มเสี่ยงที่ไทยจะเสียดินแดนเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่มีแผนจะผนวกเข้าเป็นมรดกโลกร่วมกับปราสาทพระวิหาร 1.5 ล้านไร่ และดินแดนส่วนอื่นๆอีกรวม 1.8 ล้านไร่ ตลอดชายแดนไทย-กัมพูชา

5.ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ระหว่างไทยกับกัมพูชามีอยู่ในเอกสารอะไรบ้าง?
ตอบ:
1.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ไทย-กัมพูชา พ.ศ.2543 (เอ็มโอยู 2543)
2.แผนแม่บทฯ พ.ศ.2546 (ทีโออาร์ 2546)
3.มติรัฐสภาเรื่องกรอบการเจรจาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551
4.บันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี)

6.ปัญหา บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ.2543 (เอ็มโอยู 2543) ที่สำคัญคืออะไร?
1.มีการระบุให้ไทย-กัมพูชาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ
2แสน ได้ด้วย ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา (อยู่ใน ข้อ 1 ค.) ทำให้ไทยต้องสุ่มเสี่ยงเสียดินแดนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
2.งดเว้นดำเนินการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมพื้นที่ชายแดน (ข้อ 5) โดยฝ่ายกัมพูชานอกจากจะรุกล้ำและยึดครองดินแดนเพิ่มเติมไทยแล้ว กัมพูชายังร้องเรียนกับไทยและนานาชาติกล่าวหาว่าไทยเป็นฝ่ายละเมิดเงื่อนไขนี้ตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้โต้แย้งหลายครั้ง
3.ให้ระงับข้อพิพาทใดๆที่เกิดจาการตีความหรือการบังคับใช้ เอ็มโอยู 2543 โดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและการเจรจา (ข้อ 8) ทำให้กัมพูชาเหิมเกริมรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยมากขึ้น
4.ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 224
5.เป็นเอกสารเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเอกสารหลายชนิดที่มีข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน (ดูคำตอบข้อ 5)

7.การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชาที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร?
ตอบ:
1.เขตแดนไทย-กัมพูชาซึ่งต้องไปหา/ซ่อมแซม/หลักเขตแดนทางบกเก่า 73 หลัก จาก ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ (หลักเขตที่ 1) ไปทางทิศตะวันออก ถึง บ้านหาดเล็ก จ.ตราด (หลักเขตที่ 73) ความยาว 603 กิโลเมตร หากสูญหายหรือต้องการทำเพิ่มเพื่อความชัดเจนก็สามารถทำได้

2.เขตแดนถาวรตามธรรมชาติที่ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวหรือทำอะไรอีก เพราะบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงสำรวจและปักปันไปเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ว่าให้ใช้สันปันน้ำและหน้าผาซึ่งชัดเจนมากเป็นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่เคยและไม่ต้องสำรวจเพื่อทำหลักเขตแดนใดๆ ทั้งสิ้น จาก ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออก จนถึง ช่องบก จ.อุบลราชาธานี ความยาว 195 กิโลเมตร ซึ่งย่อมรวมถึงเขาพระวิหารและบริเวณปราสาทพระวิหารด้วย

8.ศาลโลกตัดสินคดี ปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505 ตัดสินแค่ไหน?
ตอบ:
1.ศาลโลกไม่ตัดสินแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตามที่กัมพูชาร้องขอ
2.ศาลโลกไม่ตัดสินเส้นเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนตามที่กัมพูชาร้องขอ
3.ด้วยกฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ได้คัดค้านและทักท้วง ศาลโลกตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
4.ไทยจะต้องถอนทหาร, ตำรวจ, ผู้ดูแลจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียง
5.ไทยมีพันธะต้องคืนบรรดาโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับปราสาทคืนให้กัมพูชา

9.ไทยปฏิบัติตัวอย่างไรกับคดีปราสาทพระวิหาร?
ตอบ:
1.ไทยยื่นประท้วง คัดค้าน และสงวนสิทธิ์ในตัวปราสาทพระวิหารต่อองค์การสหประชาชาติ ซึ่งการสงวนไว้ซึ่งสิทธิ์ไม่มีกำหนดระยะเวลา
2.ล้อมรั้วรอบตัวปราสาทสำหรับแนวปฏิบัติการไม่ให้เจ้าหน้าที่ของไทยเข้าไปเท่านั้น โดยไทยยังคงยึดถือว่าแนวหน้าผาและสันปันน้ำที่มีความชัดเจนยังคงเป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติที่แท้จริง และในทางปฏิบัติบันไดทางขึ้นตัวปราสาทฯยังอยู่ฝั่งไทย โดยที่กัมพูชาก็ยอมรับสภาพเช่นนี้มาโดยตลอด ไม่เคยร้องขอให้เกินไปกว่านี้แต่อย่างใด
3.หลังจากคดีปราสาทพระวิหาร ประเทศไทยไม่ได้ต่ออายุขยายคำประกาศรับเขตอำนาจบังคับของศาลโลกจนถึงปัจจุบัน (คำประกาศหมดอายุในระหว่างพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร)

10.ศาลโลกจะขยายผล หรือกัมพูชาจะฟ้องศาลโลกแล้วไทยจะเสียดินแดนมากกว่านี้ได้หรือไม่?
ตอบ:
1.ไทยได้เรียนรู้ว่าศาลโลกไม่ให้ความเป็นธรรมกับไทย ศาลโลกใช้กฎหมายปิดปากกับไทยเป็นประเทศเดียวและประเทศแรกในโลก ศาลโลกตัดสินตามการเมืองเอาใจเขมรให้มาอยู่ข้างโลกเสรีกับมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็น ทั้งนี้ทนายของกัมพูชาก็คืออดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
2.ศาลโลกจำกัดคำพิพากษาเฉพาะประเด็นที่ฟ้องและตัดสินเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่สามารถขยายผลไปยังแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ได้
3.ที่จริงแล้วคำพิพากษาศาลโลกไม่มีอำนาจหรือสภาพบังคับประเทศต่างๆได้ แต่ไทยเลือกที่จะปฏิบัติตามโดยดีเอง
4.การขึ้นศาลโลกคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องยินยอม ไทยจึงมีสิทธิ์ที่จะไม่ยินยอมขึ้นศาลโลกได้

11.เพราะมีเอ็มโอยู 2543 เป็นเครื่องมืออันวิเศษทำให้ไทยกับกัมพูชาจำกัดวงให้เจรจากันเอง โดยไม่ต้องไปศาลโลกอีกครั้งให้ไทยต้องเสียเปรียบ ใช่หรือไม่?
ตอบ: ไม่จริง เพราะศาลโลกไม่สามารถขยายผลเกินกว่าขอบเขตที่ตัดสินในคำพิพากษา ศาลโลกไม่อยู่ในสภาพบังคับไทยได้ และ ไม่มีใครมาบังคับให้ไทยต้องขึ้นศาลโลกได้ (ดูคำตอบข้อ 10)

12.เพราะมีเอ็มโอยู 2543 เป็นเครื่องมืออันวิเศษทำให้องค์การสหประชาชาติหรือนานาชาติไม่มาแทรกแซง จริงหรือไม่ ?
ตอบ: ไม่จริง เพราะกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ 2 วรรค 7 ไม่ให้องค์การสหประชาชาติหรือนานาชาติมาแทรกแซงความสัมพันธ์หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศอยู่แล้วตราบใดที่ไม่เป็นอันตรายในระดับนานาชาติ

13.หากไทยยินยอมกัมพูชาที่จะเดินสำรวจเพื่อจัดทำหลักเขตแดนทางบกบริเวณ “เขาพระวิหาร” จะมีความหมายว่าอย่างไร?
ตอบ:
1.เท่ากับว่า ไทยได้สละแนวขอบหน้าผาและสันปันน้ำที่มีความชัดเจนที่สุด ซึ่งบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันเมื่อ 103 ปีที่แล้วว่าให้ใช้เป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดนใดๆทั้งสิ้น ให้กลายมาเป็นว่าต้องมาสำรวจและตกลงจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ระหว่างไทย-กัมพูชา

2.ทำให้นานาชาติเข้าใจว่า ไทย-กัมพูชา กำลังยึดถือเส้นเขตแดนอย่างอื่นที่ต้องสำรวจซ้ำและมีความไม่ชัดเจนจนถึงขั้นต้องทำหลักเขตแดนกันใหม่จากที่ไม่เคยมี ซึ่งย่อมต้องหมายถึงแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน มากกว่าจะหมายถึงขอบหน้าผาตามที่ฝ่ายไทยและฝรั่งเศสยึดถือ

14.ในเอ็มโอยู 2543 ไม่ได้มี เฉพาะแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งอยู่ในข้อ 1 (ค) เท่านั้น แต่ยังหมายถึงให้ทำตามสนธิสัญญาในข้อ 1(ก) และ 1(ข) ได้ด้วย จึงไม่ได้สรุปว่าจะใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ใช่หรือไม่?
ตอบ:
1.“ชื่อเต็มของแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน” อ้างว่า เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งทำตามสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ทำให้นานาชาติย่อมเข้าใจว่า แผนที่เป็นผลงานสุดท้ายที่สรุปกันแล้ว จึงต้องยึดเอาแผนที่เป็นหลักตลอดแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยไม่มีการยกเว้นในระวางใดทั้งสิ้น

2.เอกสารกรมสนธิสัญญากระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2547 ระบุชัดเจนว่าหากสันปันน้ำขัดแย้งกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ให้ยึดแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนเป็นหลัก รวมถึงระวางดงรักและเขาพระวิหารด้วย

3.หากยึดตามสนธิสัญญาว่าให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนจริง ก็คงไม่มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ในบริเวณเขาพระวิหาร เพราะบริเวณดังกล่าวบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีที่แล้วได้สรุปให้ใช้ขอบหน้าผาซึ่งเป็นสันปันน้ำที่มีความชัดเจนให้เป็นเขตแดนตามธรรมชาติโดยไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดนใดๆ ทั้งสิ้น

4.กัมพูชากล่าวหาไทยว่าใช้ทหารรุกรานดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทั้งในบันทึกผลการประชุม เจบีซี และในคณะกรรมการมรดกโลก แต่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้ทักท้วงแต่ประการใด

15.ผลบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน?
ตอบ:
1.บันทึกการประชุมเพื่อสำรวจซ้ำและจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่โดยเฉพาะบริเวณเขาพระวิหาร เสมือนเป็นการสละผลงานการสำรวจและปักปันของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศสซึ่งได้สรุปไปเมื่อ 103 ปีที่แล้วว่า ให้ใช้แนวสันปันน้ำและหน้าผาเป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่เคยต้องทำหลักเขตแดนใดๆ

2.เป็นผลบันทึกการประชุมที่มีคำปราศรัยใส่ร้ายประเทศไทยว่ารุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้มีการโต้แย้งใดๆ

3.มีร่างข้อตกลงชั่วคราว ที่ยืนยันจะใช้ เอ็มโอยู 2543 และ ทีโออาร์ 2546 ซ้ำ และยังตกลงจะให้ทหารทั้งสองฝ่ายออกจากดินแดนบริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพื้นที่สันติภาพ และทำให้แผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาสามารถดำเนินการได้ทันที

16.เอ็มโอยู 2543 คือ เครื่องมืออันวิเศษที่ทำให้ไทยสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสดงว่าว่าฝ่ายกัมพูชาละเมิดเอ็มโอยู 2543 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม จริงหรือไม่? และหากไม่มี เอ็มโอยู 2543 ก็จะไม่มีเครื่องมือไปบอกว่ากัมพูชาทำผิดข้อตกลง จริงหรือไม่?
ตอบ:
ไม่จริง เพราะไทยเรามีสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส และผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศส ที่สามารถระบุชัดเจนด้วยเหตุผลที่แข็งแรงกว่าว่า “กัมพูชาละเมิดอธิปไตยไทย”รุกล้ำเลยแนวสันปันน้ำและขอบหน้าผา

ตรงกันข้ามเหตุผลของ เอ็มโอยู 2543 ที่ใช้เหตุผลว่า มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในพื้นที่พิพาทนั้น กลับใช้กับพื้นที่ซึ่งเป็นของไทยและไม่เคยเป็นของกัมพูชามาก่อน มาบัดนี้ไทยก็ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในดินแดนไทยได้แต่อย่างใด

ซ้ำร้ายกัมพูชากลับกล่าวหาว่าไทยเป็นฝ่ายเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตามเอ็มโอยู 2543 อีกด้วย

17.ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน แม้มีปัญหาในอดีตก็จะต้องกลับมาเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาอยู่ดี เราไม่ควรห่วงเกินไป จริงหรือไม่?
ตอบ:
1.กัมพูชาได้อาศัยเงื่อนไทยที่ไทยตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยในส่วนที่กัมพูชาไม่เคยครอบครองมาก่อน

2.กัมพูชาสามารถโฆษณาชวนเชื่อจากข้อผิดพลาดมากมายกับนานาชาติว่าไทย-กัมพูชา ยึดถือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนแล้ว

3.ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาได้ใช้เป็นเอกสารประกอบพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชา

4.รัฐสภาไทยมีโอกาสตกเป็นเครื่องมือของอำนาจทุนที่ครอบงำพรรคที่เอื้อประโยชน์ต่อกัมพูชาได้

18. เอ็มโอยู 2543 ยกเลิกฝ่ายเดียวไม่ได้ จริงหรือไม่?
ตอบ: ไม่จริง ไม่มีข้อห้ามใน เอ็มโอยู 2543 ว่าห้ามยกเลิก แม้แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ใช้ ครม.ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 (บันทึกความเข้าใจพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล) กับกัมพูชามาแล้วทั้งๆที่ในเวลานั้นอ้างเหตุผลทางการเมือง ในขณะที่กัมพูชาได้ละเมิดเอ็มโอยู 2543 ไปแล้วหลายครั้ง ไทยจึงมีสิทธิ์ และมีความชอบธรรมที่จะยกเลิก เอ็มโอยู 2543 อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

คำถามเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

19.สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ปี 2551 คืออะไร?
ตอบ:
1.ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
2.กัมพูชาได้ส่งแผนผังรวมถึงขอบด้านข้างตัวปราสาทพระวิหารซึ่งไทยถือว่ารุกล้ำดินแดนไทย
3.กัมพูชาเสนอเอกสารในลักษณะจะทำให้พื้นที่กันชน และพื้นที่พัฒนารอบตัวปราสาทพระวิหาร กินรุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทย
4.กัมพูชาเสนอเอกสารแผนที่ภาพรวมว่าเขตแดนไทย-กัมพูชาคือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ส่วนไทยไม่ทักท้วงในประเด็นนี้
5.จะมีการตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อให้ความคุ้มครองทรัพย์สินมรดกโลก (มี 7 ชาติ อเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, กัมพูชา, ไทย)
6.กำหนดให้กัมพูชายื่นแผนบริหารจัดการในปี 2553

20.สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 ปี 2552 คืออะไร?
ตอบ:กัมพูชาได้ร้องต่อคณะกรรมการมรดกโลกว่า ไทยใช้กำลังทหารรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ในบริเวณเขาพระวิหารตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมาจนทำให้กัมพูชาเสียหาย โดยฝ่ายไทยไม่ทักท้วงแต่ประการใด

21.สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 ปี 2553 คืออะไร?
ตอบ:
1.คณะกรรมการมรดกโลกได้แจ้งในรายงานว่า องค์การยูเนสโกได้ให้เงินช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชา จำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐฯ ซ่อมและสร้างตลาดกัมพูชาในดินแดนไทย เพราะจากเหตุที่กัมพูชาได้กล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้ทักท้วงอีก

2.กัมพูชาได้ส่งมอบแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนให้กับทุกชาติประกอบแผนบริหารจัดการมรดกโลก (ยกเว้นประเทศไทย)

3.ไทย-กัมพูชา ยอมลงนามในร่างมติประนีประนอมระหว่างกัน โดยให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาในการประชุมครั้งที่ 35 เดือนมิถุนายน 2554

22.เหตุผลที่เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารเป็น มิถุนายน 2554 เพราะอะไร?
ตอบ:
1.ฝ่ายไทยร้องเรียนว่ากัมพูชาได้ส่งเอกสารล่วงหน้าไม่ถึง 6 สัปดาห์ ผิดกติกามรดกโลก

2.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นชอบให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ ลงนามประนีประนอมกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 โดยมีเงื่อนไขจะทำให้ไทยต้องเสียเปรียบในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554

23.สิ่งที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติลงนามร่างมติประนีประนอมกับกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกสรุปว่ามีเนื้อหาอะไร?
ตอบ:
1.รับมอบเอกสารการประชุมครั้งที่ 34
2.อ้างถึงมติคณะกรรมการมรดกโลกและการรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการมรดก
โลกย้อนหลังทั้งหมดในกรณีปราสาทพระวิหาร
3.ศูนย์มรดกโลกได้รับมอบเอกสารจากกัมพูชาแล้ว
4.จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานฯพื้นที่มรดกโลก
ปราสาทพระวิหาร 7 ชาติ
5.จะตัดสินพิจารณาเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 35 ปี 2554

24.สิ่งที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ ลงนาม มีนัยยะต่อการประชุมครั้งที่ 35 ปี เดือนมิถุนายน 2554 ว่าอย่างไร?
ตอบ:
1.ไทยและคณะกรรมการมรดกโลกได้รับมอบเอกสารล่วงหน้าแล้ว 1 ปี ก่อนถึงการประชุมครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554 ทำให้ฝ่ายไทยหมดข้ออ้างที่เคยใช้ว่ากัมพูชาไม่ได้ยื่นแผน
บริหารจัดการล่วงหน้า 6 สัปดาห์ตามกติกาของคณะกรรมการมรดกโลก

3.ไทยได้รับมอบเอกสารการประชุมครั้งที่ 34 ซึ่งทุกประเทศ (ยกเว้นประเทศไทย) ต่างได้รับ
มอบแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน

4.ไทยได้ยอมรับการอ้างอิงและการรับรองรายงานการประชุมและการลงมติของคณะกรรมการ
มรดกโลกที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ขีดเส้นกระทบไทย, การ
อ้างอิงแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน, การอ้างว่าไทยรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน
1 ต่อ 2 แสน, การที่ยูเนสโกให้เงินสนับสนุนกัมพูชาสร้างตลาดในดินแดนไทยเพราะไทย
รุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ไทยไม่ได้ปฏิเสธ

5.ไม่ปฏิเสธการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆโดยรัฐภาคีเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนของปราสาทพระวิหาร 7 ชาติ

25. เอ็มโอยู 2543 ที่อ้างว่าการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไม่แล้วเสร็จ เป็นเหตุผลที่ทำให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลก จริงหรือไม่?
ตอบ:
1.ไม่จริง เพราะที่ผ่านมาคณะกรรมการมรดกโลกได้รับแต่แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยไทยไม่คัดค้านจึงเชื่อว่าคำว่า การจัดทำหลักเขตแดนไม่แล้วเสร็จนั้น หมายถึงไม่แล้วเสร็จตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งไม่กระทบต่อพื้นที่บริหารจัดการมรดกโลกที่น้อยกว่าเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนและชื่อของแผนที่ใน เอ็มโอยู 2543 นานาชาติย่อมเข้าใจว่า เป็นแผนที่ซึ่งได้ปฏิบัติตาม
สนธิสัญญาและคณะกรรมการปักปันสยามกับฝรั่งเศส จึงเป็นผลลัพธ์ของการกำหนดเส้นเขต
แดน

2.ไม่จริง เพราะถ้าเชื่อเช่นนั้นจริง ยูเนสโกจะไม่ให้เงินมาสนับสนุนสร้างตลาดกัมพูชาในดินแดนไทย

3.ไม่จริง เพราะถ้ามีน้ำหนักทำให้เลื่อนได้จริง นายสุวิทย์ คุณกิตติ ไม่จำเป็นต้องลงนามในร่างข้อตกลงประนีประนอมที่ทำให้ฝ่ายไทยต้องเสียเปรียบในการประชุมมรดกโลกครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554

26. เงื่อนไขที่สำคัญที่จะทำให้คณะกรรมการมรดกโลกอนุมัติแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาคืออะไร?
ตอบ:
1.ฝ่ายไทยหมดข้ออ้างตามที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ลงนามประนีประนอมกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553

2.พื้นที่รอบเขาพระวิหารเป็นพื้นที่สันติภาพและสงบ ไม่มีทหารและไม่มีการปะทะ ตลอดจนมีการรื้อถอนสิ่งที่ไม่เกี่ยวออกจากแผนบริหารจัดการมรดกโลกออกจากพื้นที่

คำถามเกี่ยวกับกรณีกัมพูชารุกล้ำและยึดครองดินแดนไทย

27. หลังจากไทยได้ลงนามใน เอ็มโอยู 2543 กับกัมพูชาแล้วเกิดอะไรขึ้น?
ตอบ:
1.กัมพูชาประกาศพระราชกฤษฎีกาใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนบริเวณเขาพระวิหาร ทั้งๆที่ไม่เคยทำเช่นนี้มาก่อน

2.รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยมากขึ้นบริเวณเขาพระวิหาร ทั้งการขยายตลาด ชุมชน สร้างวัด สร้างถนนวิ่งอ้อมจากฝั่งกัมพูชาเข้ามาในดินแดนไทยขึ้นถึงตัวปราสาทพระวิหาร และขยายตัวมากขึ้นอย่างไม่หยุด

3.ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมทั้งนำแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนเป็นเอกสารประกอบด้วย

4.รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยเพิ่มเติม ทั้งช่องตาเฒ่า, ปราสาทโดนตรวล, ปราสาทตาเมือนธม, ภูมะเขือ, ปราสาทตาควาย, ถนนศรีเพ็ญ ฯลฯ

5.เป็นฝ่ายร้องเรียนกับนานาชาติว่าไทยละเมิด เอ็มโอยู 2543 รุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน

28. การประท้วงถือว่าไทยยังไม่เสียดินแดนจริงหรือไม่?
ตอบ: ในทางพฤตินัยถือว่าไทยได้สูญเสียดินแดน เพราะไทยไม่แสดงอธิปไตยเหนือดินแดนในบริเวณที่ถูกรุกรานและยึดครองได้ เช่น การเก็บภาษี การบังคับใช้กฎหมาย การเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา ฯลฯ ยิ่งที่ปล่อยให้เป็นปัญหานานวันก็ยิ่งยากในการขอพื้นที่คืน

29. ต้องการสงครามกัมพูชาหรือไม่?
ตอบ: การปะทะตามตะเข็บชายแดนเพื่อรักษาอธิปไตย เป็นการปะทะจำกัดขอบเขต ต่างกันกับการทำสงครามอย่างสิ้นเชิง

การละเมิดอธิปไตยควรใช้การเจรจาและทางการทูตเป็นจุดเริ่มต้น แต่หากไม่ฟังแล้ว ไทยต้องแสดงอธิปไตยเหนือดินแดนในพื้นที่ดังกล่าวให้ได้ เช่น การใช้ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, การจัดเก็บภาษี การบังคับใช้กฎหมาย การเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา แต่เมื่อฝ่ายทางการไทยอ่อนแอกัมพูชาจึงเหิมเกริมและใช้กองกำลังทหารติดอาวุธรุกรานและยึดครอง ดังนั้นไทยก็มีความชอบธรรมที่จะใช้ทหารในการผลักดันเช่นกันเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ

30. กลยุทธ์ทางการทหารของกัมพูชาคืออะไร?
ตอบ:
1.ใช้ทหารบุกรุกยึดครองแล้วขยายชุมชนให้กัมพูชายึดครองโดยพฤตินัย
2.พื้นที่มรดกโลกปราสาทพระวิหาร เมื่อใกล้ถึงวันพิจารณาแผนบริหารจัดการ กัมพูชาจึงถอนชุมชน เพื่อให้ถอนทหารและงดเว้นการปะทะทั้งสองฝ่าย โดยใช้ข้ออ้างในการสำรวจและทำหลักเจแดนตามเอ็มโอยู 2543 แต่แท้ที่จริงก็คือการทำให้เป็นพื้นที่สันติภาพเพื่อให้แผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมมรดกโลกครั้งที่ 35 ถือเป็นการนำนานาชาติมาผ่านเวทีมรดกโลกมาสร้างความชอบธรรมให้กัมพูชายึดครองดินแดนไทย ขยายความชอบธรรมในกรรมสิทธิ์ในดินแดนดังกล่าวให้เป็นของกัมพูชาในระหว่างที่เจรจาไม่สำเร็จตามที่กัมพูชาต้องการ

31. กัมพูชาถอนชุมชน ตลาดและวัด โดยอ้างหลายครั้งว่าสถานภาพถอยกลับไปก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยฝ่ายไทยอ้างเป็นผลงานว่าเป็นผลงานจาก เอ็มโอยู 2543 และการเจรจา จริงหรือไม่?
ตอบ:
กัมพูชาอ้างว่าให้ถอยกลับไปก่อน วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 หมายถึงว่า ทหารไทยได้เลิกรุกรานกัมพูชาตาแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน และพร้อมที่จะบริหารจัดการในพื้นที่มรดกโลกแล้ว โดยกัมพูชาได้สร้างหลักฐานเอกสารอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ

1. ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 กัมพูชาให้ร้ายว่าไทยรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จนองค์การยูเนสโกให้เงินสนับสนุนกัมพูชาให้ซ่อมสร้างตลาดในดินแดนไทย 50,000 เหรียญสหรัฐ โดยไทยไม่ทักท้วง

2.ในคำปราศรัยในบันทึกผลการประชุม ประธานเจบีซีฝ่ายกัมพูชากล่าวร้ายว่าตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ประเทศไทยได้มีการปะทะละเมิดเอ็มโอยู 2543

32. การลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก ได้อะไร?
ตอบ:
1.ยกเลิกสิ่งที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ และไม่ยอมรับการละเมิดอธิปไตยไทย

2.ถือเป็นการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ผิดพลาดในการประชุมที่ผ่านมาทั้งหมด และสิ่งทีกำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตโดยฝ่ายไทยได้แจ้งล่วงหน้าก่อนแล้ว

3.หากไทยลาออกจาภาคีอนุสัญญามรดกโลกล่าช้า หรือยังจะใช้เป็นเวทีในการเจรจาคัดค้านต่อไป ย่อมเท่ากับว่าไทยยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ผ่านมา และหากปล่อยผ่านไปถึงการประชุมลงมติแผนบริหารจัดการมรดกโลกในครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554 แล้ว ไทยจะต้องเผชิญหน้ากับมหาอำนาจอีกหลายชาติ จากที่เคยเผชิญหน้ากับกัมพูชาประเทศเดียว

4.ไม่กระทบต่อทะเบียนมรดกโลกที่ได้อนุมัติไปแล้วก่อนหน้านี้

33. ข้อเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย?
ตอบ:
1.ลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เพื่อแสดงการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกที่ได้ละเมิดอธิปไตยไทยและไม่ฟังคำทักท้วง

2.ผลักดันชุมชนและทหารกัมพูชาออกจากดินแดนไทย พร้อมทั้งทวงคืนแผ่นดินไทยกลับมาดังเดิม

3.ยกเลิกและหยุดยั้งข้อผูกพันทั้งปวงที่เกี่ยวเนื่องกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน
สรุปถาม-ตอบกรณีปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา

1.พันธมิตรฯ นักวิชาการ และภาคประชาชนคัดค้านเรื่องอะไร?
ตอบ: คัดค้านไม่ให้ประเทศไทยเสียดินแดนจาก
1. ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทั้งปวงที่ไทยทำกับกัมพูชา
2. การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
3. การรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยโดยกัมพูชา



ถามตอบ
1. การลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก ได้อะไร?
ตอบ:
1.ยกเลิกสิ่งที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ และไม่ยอมรับการละเมิดอธิปไตยไทย

2.ถือเป็นการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ผิดพลาดในการประชุมที่ผ่านมาทั้งหมด และสิ่งทีกำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตโดยฝ่ายไทยได้แจ้งล่วงหน้าก่อนแล้ว

3.หากไทยลาออกจาภาคีอนุสัญญามรดกโลกล่าช้า หรือยังจะใช้เป็นเวทีในการเจรจาคัดค้านต่อไป ย่อมเท่ากับว่าไทยยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ผ่านมา และหากปล่อยผ่านไปถึงการประชุมลงมติแผนบริหารจัดการมรดกโลกในครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554 แล้ว ไทยจะต้องเผชิญหน้ากับมหาอำนาจอีกหลายชาติ จากที่เคยเผชิญหน้ากับกัมพูชาประเทศเดียว

4.ไม่กระทบต่อทะเบียนมรดกโลกที่ได้อนุมัติไปแล้วก่อนหน้านี้


2.ข้อเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
คือ
1.ลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เพื่อแสดงการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกที่ได้ละเมิดอธิปไตยไทยและไม่ฟังคำทักท้วง

2.ผลักดันชุมชนและทหารกัมพูชาออกจากดินแดนไทย พร้อมทั้งทวงคืนแผ่นดินไทยกลับมาดังเดิม

3.ยกเลิกและหยุดยั้งข้อผูกพันทั้งปวงที่เกี่ยวเนื่องกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน


















































 
     
      By : ผมเองครับ      (118.175.255.*)  15/01/2011 08:10 PM  
 
 
 
  ความคิดเห็นที่: 1  
     
  ผมขอชื่นชมในเนื้อหาของท่านที่มากด้วยสาระจริงๆ....
ในฐานะครูสังคมศึกษา ผมก็พอทราบมาบ้างครับ เห็นด้วยกับท่าน....ความคิดเห็นของผมทางเดียวที่น่าจะแก้ไขได้คือ สงคราม ครับ.... ใครแพ้ชนะว่ากันไป แต่เป็นการลงทุนที่สูงมากไปหน่อยแค่นั้นเอง ซึ่งบรรพบุรุษของเราก็เคยทำมาแล้วด้วย.....(พูดตามหลักการนะนี่)
 
     
    By: ครูชนแดน      (180.180.56.*) 16/01/2011 09:17 AM
 

 
  ความคิดเห็นที่: 2  
     
  ทักษิณ......ก็บ้าเงิน จนไม่มองเห็นผลประโยชน์ของประเทศชาติ งาบได้เป็นงาบ..
อภิสิทธฺ.....ก็บ้าอำนาจ จนมองไม่เห็นผลประโยชน์ของแผ่นดิน(เขาโตที่อังกฤษจะให้มารักษาอย่างเราได้ไง งงง)
.....เราจะพึงใครนี่ เหลืองก็ว่ากูเก่งร้องเหง๋งๆๆ สีแดงก็ออกมาเบ่ง ร้องก๊ากกก....
แล้วมันได้อะไร มันมีอะไรที่ดีๆบ้าง....
สุดท้ายก็คนใครด้วยกันทั้งนั้น เขมรมันกินบ้าน กินเมืองไปหมดแล้ว.....
 
     
    By: ครูชนแดน      (125.26.75.*) 16/01/2011 09:25 AM
 

 
  ความคิดเห็นที่: 3  
     
  พันธมิตรทำประเทศจนเจ๊งงงง  
     
    By: ยังไม่รู้ตัวอีก      (182.52.183.*) 16/01/2011 09:28 PM
 

 
  ความคิดเห็นที่: 4  
     
  พันธมิตรทำประเทศจนเจ๊งงงง By: ยังไม่รู้ตัวอีก (182.52.183.*) 16/01/2011 09:28 PM


ครับยังไม่รู้ตัวอีก ก็คือ ยังไม่รู้ตัวอีก แล้วคุณรู้สึกตัวหรือยังบ้านเมืองพังฉิบหายนี่มันเพราะใคร

รู้ตัวแต่ว่ามีคน ๆ หนึ่ง และหลายคน ที่ทำประเทศไทยเสียหายป่นปี้ได้ขนาดนี้ เพราะความอวดดื้อถือดี บอดบื้อตาใส กลัวเสียชื่อพรรค พวก ถือทิฐิใฝ่ต่ำ
 
     
    By: ผมเองครับ      (118.175.255.*) 16/01/2011 09:58 PM
 

 
  ความคิดเห็นที่: 5  
     
  ถามจริง ๆ เหอะ ตอนนี้มันดีกว่าตอนทักษิณอยู่ตรงไหน อย่าหลอกตัวเอง  
     
    By: ครู      (125.26.74.*) 17/01/2011 09:43 AM
 

 
  ความคิดเห็นที่: 6  
     
  ผมคิดว่า สันดานนักการเมือง ...... มันโกหกพอๆกันแหละครับ....
ถ้าให้ผมเลือกนะผมเลือก...แบบจีนดีกว่า...


เพราะอย่างน้อยมันก็น่าจะดีกว่า นักการเมือง แบบที่เป็นมาและเป็นอยู่นี้ครับ
 
     
    By: ครูชนแดน      (118.175.130.*) 17/01/2011 11:07 PM
 


     
 
       
ชื่อ ::
  *
  รหัส ::   (เฉพาะสมาชิก)
 
อีเมล์ ::
  (สมาชิกไม่ต้องกรอก)
     
Insert Bold text Insert Italicized text Insert Underlined text Insert Centered text Insert a Hyperlink Insert Email Hyerplink Insert an Image Insert Code Formatted text Insert Quoted text
 
รายละเอียด ::
  *
  ใส่รูปแสดงอาการ ::   Confused Idea Smile Wink Coool Love It Cry Devil Kiss Yum Big Grin Smiley Razz Brow
Blue Smile Ek Frusty Eek Weird Look Bawling Angry Fire Red Face Eplus Uh Oh Crying Sinister Tongue Roll Eyes
 
รูปประกอบ ::
  ไม่เกิน 50 Kb
       
     
 
     
 
 Search Word:
Support by http://www.sisaketedu1.go.th
This programe support PHP 4, MySQL Developer by NOKESTUDIO In Thailand
NINEBOARD Vol 3.0 Copyright © 2001-2002 NINETO SOLUTION All Rights Reserved.